วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ผลลัพธ์ของการโอเวอร์เทรนนิ่ง


ผลลัพธ์ของการโอเวอร์เทรนนิ่ง

By Flex Staff

มีการโต้เถียงกันมากมายเกี่ยวกับอาการที่แท้จริงของการโอเวอร์เทรนนิ่งในเหล่านักเพาะกาย การเล่นกล้าม การสร้างกล้ามเนื้อ และความต้านทานในการออกกำลังกายต่อไป บางคน ยกตัวอย่างเช่น Mike Mentzer ซึ่งคิดว่านักเพาะกายทั้งหลายนั้น โอเวอร์เทรนนิ่ง และแต่บัดนี้นักวิทยาศาสตร์หลากหลายท่านซึ่งสรุปว่านักเพาะกายแต่ละคนนั้นไม่เคยแตะถึงสถานะการโอเวอร์เทรนนิ่งจริงๆเลย

นักวิจัยสนใจในการควบคุมมาตรฐานการศึกษาในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักและการออกกำลังกายด้วยการฝึกฝนที่มากเกินความจำเป็นและเวลาในการฟื้นฟูไม่เพียงพอในระหว่างการเจ็บปวดช่วงสั้นๆ ของกล้ามเนื้อเพื่อบ่งชี้ไปในขั้นระดับการสร้างเนื้อเยื่อและการสลายตัว ด้วยการให้หนูตัวผู้กลุ่มนึงทำกิจกรรมแบบไร้แบบแผนหรือปล่อยให้อยู่นิ่งๆเฉยๆ ส่วนในอีกกลุ่มนึงถูกให้ฝึกฝนความต้านทานด้วยโปรแกรมการฝึกต่อเนื่อง 12 อาทิตย์ด้วยการฝึกฝนแบบที่มากเกินความจำเป็นและมีเวลาพักฟื้นไม่เพียงพอระหว่างการเจ็บปวดช่วงสั้นๆ โดยพิสูจน์ที่กล้ามเนื้อขา ในช่วงเวลาสั้น หนูทั้งหลายผ่านการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง (5วัน/อาทิตย์) ประกอบด้วยการกระโดดซ้ำไปซ้ำมา ในรูปแบบการโอเวอร์เทรนนิ่งประกอบด้วย จำนวนเซ็ทที่มีประสิทธิภาพคือ 2 - 4 เซ็ท และ จำนวนครั้งคือ 5 - 12 ครั้ง พร้อมกับมีเวลาพักเพียง 30 วินาทีระหว่างเซ็ท และพร้อมกับติดสายคาดอกน้ำหนักเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัว เพื่อให้เป้าประสงค์เสมือนว่า ได้ทำกิจกรรมการเพาะกาย การเล่นกล้าม การสร้างกล้ามเนื้อ เช่นเดียวกับมนุษย์

หลังจากผ่านการทดลองเป็นเวลา 12 อาทิตย์ เส้นใยกล้ามเนื้อที่สะสมถูกนำมาวิเคราะห์ถึงการการสันดาปและการสร้างของเนื้อเยื่อ ตัวอย่างเช่น MAFbx, IGF-I protein expression โปรแกรมการโอเวอร์เทรนนิ่งแสดงผลลัพธ์ถึงการลดลงของขนาดขา -17% เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ควบคุมแบบธรรมดา มีการเพิ่มขึ้นของ MAFbx protein expression 20% บ่งชี้ถึงการสันดาปของกล้ามเนื้อ ในทางตรงกันข้าม การสร้างของเนื้อเยื่อเช่น MyoD -27%, myogenin -29% และ IFG-I -43% ระดับโปรตีนลดลง ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า การเสื่อมของกล้ามเนื้อถูกชักนำโดยการออกกำลังกายที่มากเกินไปและมีเวลาพักฟื้นไม่เพียงพอ ร่วมกับการเข้มข้นขึ้นของ MAFbx catabolic และการผ่อนลงของ MyoD, myogenin และ IGF-I เปปไทด์ฮอร์โมนที่ช่วยเสริมสร้างโปรตีน

สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้เสนอแนะว่าการโอเวอร์เทรนนิ่งนั้นเป็นปรากฎการณ์ที่เป็นจริงมากๆกับนักกีฬา การเพาะกาย การเล่นกล้าม การสร้างกล้ามเนื้อ ผู้ซึ่งทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพิ่มปริมาณขึ้นๆเรื่อยในยิม และเพื่อป้องกันการโอเวอร์เทรนนิ่ง คือควรมองหาโปรแกรมการฝึกที่แบ่งเป็นช่วงๆซึ่งจำนวนครั้งเป็นแบบแปรผัน เพื่อไม่ให้ทำกิจกรรมใดๆอย่างต่อเนื่องมากเกินไป ซึ่งอาจถูกชักนำไปสู่การโอเวอร์เทรนนิ่งได้


ขอบคุณแหล่งที่มา : Flexonline

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น